ขั้นตอนการใช้คอมพิวเตอร์
ปัญหาที่เกิดขี้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะมีตั้งแต่เล็กๆน้อยๆ ไปจนถึงความบกพร่องอย่างร้ายแรงที่จะทำให้งานของเราที่อุตส่าห์ทำเป็นเดือนๆ หายไปได้ในพริบตา หรือไม่สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์นั้นได้อีกเลย วิธีการที่ดีที่สุดในการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นกับคอมพิวเตอร์นั้นก็คือ ป้องกันก่อนที่มันจะเกิดขึ้น
ปัญหาที่เกิดขี้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะมีตั้งแต่เล็กๆน้อยๆ ไปจนถึงความบกพร่องอย่างร้ายแรงที่จะทำให้งานของเราที่อุตส่าห์ทำเป็นเดือนๆ หายไปได้ในพริบตา หรือไม่สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์นั้นได้อีกเลย วิธีการที่ดีที่สุดในการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นกับคอมพิวเตอร์นั้นก็คือ ป้องกันก่อนที่มันจะเกิดขึ้น
ขั้นตอนในการป้องกัน
ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับฮาร์ดดิสก์
ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการเก็บข้อมูลความสำคัญมากๆ ในเรื่องของการเก็บข้อมูล คือ
ไม่ให้มีอุบัติเหตุซึ่งจะทำให้มันมีค่าที่สุด
ถึงแม้ว่ามันอาจจะไม่ใช่เป็นอุปกรณ์ที่แพงที่สุดในเครื่องของเราก็ตามเป้าหมายของการป้องกันคือ
เก็บข้อมูลของเราให้ปลอดภัย มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
1.รู้จักเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง
|
เราสามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องของเราว่าอุปกรณ์อะไร
รายละเอียดเป็นอย่างไร ได้ โดยดูที่ System Properties โดยคลิ๊กเม้าปุ่มขวาที่ Mycomputer เลือก
1. Properties จะปรากฏ System Propeties ขึ้นมา
ให้เราคลิ๊กที่ Tab Device Manager เราสามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ภายในเครื่องของเราได้
ถ้าเรามีเครื่องพิมพ์ ก็สั่งพิมพ์มาเก็บไว้เลยจะเป็นการดีที่สุดป้องกันการลืม
เมื่อเราเครื่องของเรามีปัญหาไม่สามารถบู๊ตเครื่องจากฮาร์ดดิสก์ได้
เราก็ยังจะสามารถบู๊ตจากแผ่นบู๊ตฉุกเฉินที่เราสร้างขึ้นเอาไว้ได้ โดยไปที่
1. เลือกเมนู Start
2. เลือก Setting
3. เลือก Control
Panel
4. กดดับเบิ้ลคลิ๊กไอคอน Add remove programs
5. ให้เลือกคลิ๊กที่ Tab
Startup Disk แล้วใส่ แผ่น floppy disk ที่ทำการ format แล้วใน dirve a:
6. แล้วคลิ๊กที่ปุ่ม Create
Disk หลังจากเครื่องทำการสร้างแผ่นบูตเสร็จเรียบร้อย
เราก็จะได้แผ่นบู๊ตฉุกเฉินขึ้นมาแล้ว
เพราะฮาร์ดดิสก์เป็นที่ที่เก็บแอปพิลเคชั่นไว้อย่างถาวร
และที่สำคัญมากคือไฟล์ข้อมูลที่สร้างด้วยแอพพลิเคชั่นเหล่านั้น
ดังนั้นฮาร์ดดิสก์จึงจำเป็นต้องระมัดระวังอย่างพิเศษเพื่อรักษามันให้ปฏิบัตการได้ที่ประสิทธิภาพสูงสุด
การสแกนดิสก์ เพื่อหาไฟล์ที่สูญหาย (Lost) และเซ็กเตอร์ที่เสียหาย (bad
sector)จะช่วยป้องกันปัญหาของดิสก์ทั้งหมดก่อน ที่จะเกิดขึ้น
ในขณะที่การ Defragment จะช่วยจัดเรียงไฟล์ที่แตกกระจัดกระจาย
ให้เป็นระเบียบขึ้น
วิธีการสแกนดิสก์ทำได้ดังนี้
1. เลือกเมนู Start
2. เลือก Program
3. เลือก Accesorry
4. เลือก System
Tools
การเก็บรักษาไฟล์ข้อมูลในโฟล์เดอร์เราจะต้องเก็บรักษาให้อยู่ในส่วนที่ค้นหาง่ายและมีชื่อที่สามารถจดจำได้ง่าย
จะช่วยลดความเสี่ยงที่เราจะลบโปรแกรมหรือข้อมูลเหล่านั้นโดยไม่ได้ตั้งใจ
อีกทั้งฮาร์ดดิสก์ที่มีการบริหารรวบรวมที่ดีจะสามารถทำ
การแบ๊กอัปสำรองข้อมูลได้ง่ายกว่าและเร็วกว่า
และไฟล์ไหนที่เราไม่ได้ใช้เป็นเวลาอย่างน้อย 2 เดือน ควรจะลบไฟล์นั้นออกไป เพราะ
ดิสก์ที่ใส่ข้อมูลมากๆ
จนเกือบเต็มความจุของมันมักมีแนวโน้มที่จะเกิดความผิดพลาดได้มากกว่า
และช้ากว่าฮาร์ดดิสก์ที่ไม่ได้ใส่ข้อมูลจนแน่น
การแบ็กอัปไฟล์ของเรามีความหมายง่ายๆ
ก็คือเป็นการทำสำเนาเผื่อเอาไว้ ถ้าต้นฉบับถูกทำให้สูญหายหรือเสียหายไป
เราก็ยังสามารถนำเอาสำเนามาใช้ได้ เราสามารถแบ็กอัปฮาร์ดดิสก์ไปยัง Floppy disk หรือ Zip
disk ได้ ถ้าเราทำธุรกิจมีข้อมูลที่สำคัญมากๆ เช่น
ข้อมูลของสินค้า ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลด้านบัญชี มูลบุคคล
เราควรจะแบ๊กอัปมันทุกๆวันเป็นมาตรฐานเอาไว้ แต่ถ้าเราเป้นผู้ใช้ตามบ้าน
ก็ควรจะการแบ็กอัปไฟล์หนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ และทำการแบ๊กอัป
ทั้งระบบอย่างสมบูรณ์ทุกๆ 6 เดือน
โดยเราสามารถใช้โปรแกรม Backup ดังนี้
1. เลือกเมนู Start
2. เลือก Program
3. เลือก Accesorry
4. เลือก System
Tools
5. เลือก Backup
โปรแกรมนี้จะอนุญาติให้เราตรวจเลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการจะแบ๊กอัป
แม้ว่าไวรัสคอมพิวเตอร์ที่สามารถสร้างความเสียหายให้กับเครื่องและข้อมูลของเราได้
ซึ่งในบางครั้งก็ดูออกจะเป็นเรื่องตื่นตระหนกจนเกินเหตุ แต่ความเป็นจริงแล้วไวรัสไม่สามารถที่จะทำอันตรายให้กับเครื่องและข้อมูลของเราได้
ถ้าหากเราไม่ได้สั่งให้มันทำงาน (execute) ไวรัสนั้นติดมาได้ 2 ทาง คือ
1. จากแผ่นดิสก์อื่นที่เรานำมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นที่เรายืมหรือก๊อปปี้ของเพื่อนมา
หรือ แผ่นcd เถื่อนที่เราซื้อมาจากพันธุ์ทิพย์
2. จากอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมที่เราดาว์นโหลดมา
หรือ ไวรัสที่ส่งมากับอีเมล์ วิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือเราต้องไม่นำมาใช้
หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ให้เราหาโปรแกรมสำหรับสแกนไวรัสมาสแกนไวรัสก่อนที่จะนำมาใช้
ยกตัวอย่างเช่น McAfee's VirusScan Norton AntinVirus หรือ Pc-cillin
แต่ในบางครั้งไวรัสตัวนั้นอาจเป็นไวรัสชนิดใหม่ที่โปรแกรมเหล่านั้นยังไม่สามารถตรวจสอบได้
เราก็จำเป็นต้องไปดาวน์โหลดโปรแกรมสแกนไวรัสเวอร์ชั่นใหม่ ๆ
มาใช้งานจากเวบไซด์เหล่านั้น
เมื่อเราได้ติดตั้งโปรแกรมลงบนระบบของ window95 แล้วอย่าได้เปลี่ยนชื่อไดเร็กทอรี่ของโปรแกรมหรืออย่าได้ย้ายไฟล์ของมันจากที่ที่มันอยู่ไปไว้ที่อื่นๆ
บนฮาร์ดดิสก์ของเรา มิฉะนั้นคอมพิวเตอร์จะหาแทร็กของคีย์ไฟล์ไม่เจอ
ถ้าเราจะทำการลบ (delete) หรือยกเลิกการติดตั้ง (uninstall)
วิธีการลบ (delete) หรือยกเลิกการติดตั้งที่ถูกวิธีทำได้ดังนี้
1. เลือกเมนู Start
2. เลือก Control
Panel
3. กดดับเบิ้ลคลิ๊กที่ Add/Remove
Programs
4. เลือกโปรแกรมที่เราต้องการจะลบ
หรือ ยกเลิกการติดตั้ง
5. กดปุ่ม Add/Remove
หลังจากกดปุ่ม Add/Remove แล้วจะปรากฏหน้าต่างการยกเลิกการติดตั้งให้
แต่มีบางไฟล์หรือบางกรณีที่จะต้อง ใช้คำสั่งลบออกได้ด้วยตนเอง
โดยไม่ต้องผ่านการลบด้วยกรรมวิธีขั้นต้น สามารถเข้าไปลบไฟล์เหล่านั้นได้เลย
อุปกรณ์ต่างๆ
ที่เป็นส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์จะมีโปรแกรมไดว์เวอร์ (driver) เพื่อพูดคุยติดต่อระหว่าง window95 กับ ฮาร์ดแวร์ของเรา จะเป็นการดีถ้าเราสามารถอัปเดตโปรแกรมไดว์เวอร์เหล่านั้นให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
เพื่อให้คอมพิวเตอร์ของเราทำงานได้เต็มประสิทธิภาพคุ้มค่ากับเงินที่เสียไป
ฝุ่นสามารถทำให้ชิปภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราร้อนขึ้นมามากกว่าธรรมดาและยังเป็นตัวขัดขวางการไหลเวียนระบายความร้อนของอากาศอีกด้วย
อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งให้เราถอดปลั๊กต่างๆ และเปิดฝาเครื่องขึ้นมา
และเป่าฝุ่นออก อย่าเช็ดด้วยเศษผ้า ให้ใช้ปากเป่าหรือกระป๋องอัดลมสำหรับฉีดลมอย่างใดอย่างหนึ่งในการเป่าฝุ่น
เมื่อใดก็ตามที่เสร็จการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วจะเลิกการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์
อย่าได้ปิดเครื่องเลยทันที เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์มีการเก็บหน่วนความจำแคช
ปิดไฟล์ และ เซฟข้อมูลคอนฟิกคูเรชั่นต่างๆ ก่อนที่เราจะปิดเครื่อง
เราจำเป็นต้องต้องสั่งให้คอมพิวเตอร์ของเราชัตดาวน์ (shutdown)ก่อนเสมอ โดยไปที่ Start
--> Shutdown แล้วกด OK เท่านี้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราก็จะจบการทำงานได้อย่างสวยงาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น